หยุด! พูดให้คนเดินหนี เล่าเรื่องอย่างไรให้ใครก็อยากฟัง

พูดแล้วไม่มีใครฟัง เล่าเรื่องแล้วคนเดินหนี
ใช้วิธีนี้มัดใจคนฟังได้ ชนะใจกลุ่มเป้าหมายแน่นอนครับ

คุณเคยลุกขึ้นเล่าเรื่องแล้วคนเดินหนีไหมครับ ?
ตอนนำเสนองาน แล้วลูกน้องเอาแต่นั่งเล่นโทรศัพท์ คุณรู้สึกยังไง ?

พูดแล้วไม่มีใครอยากฟัง เล่าเรื่องอะไรก็น่าเบื่อหน่าย สะกดใจคู่สนทนาไม่ได้ เมื่อมีปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นคุณคิดว่าเราควรแก้ไขมันอย่างไรครับ ต้องด่าคนที่นั่งอยู่ตรงหน้า ต้องตําหนิลูกน้อง หรือจริง ๆ แล้วควรหันกลับมาแก้ที่ตัวเราเอง ?

ตัวผมก็เป็นแบบนี้ล่ะครับ เมื่อก่อนเวลาคุยกับใครแล้วเขาเดินหนี ผมทั้งอารมณ์เสียและหงุดหงิด พอเขาไม่ตั้งใจฟัง ผมก็ด่าเขา ตอนนั่งสอนงานลูกน้องก็เหมือนกันครับ พอลูกน้องมีท่าทีไม่อยากฟัง ผมก็ด่าเขาทันที

“ทําไมเขาไม่สนใจสิ่งที่เราพูดวะ”

คนเราก็เป็นแบบนี้แหละครับ ไม่พอใจอะไรก็เอานิ้วชี้ด่าคนอื่นก่อน แต่หารู้ไม่ว่าอีก 4 นิ้วที่เหลือมันจะย้อนกลับมาชี้ที่ตัวเราเองเสมอ

ถ้าคุณเป็นคนที่นำเสนอไม่เป็น พูดแล้วไม่มีใครอยากฟัง อยากรู้ว่าต้องทำอย่างไรถึงจะเล่าเรื่องโดนใจคนฟัง ดึงดูดให้เขาสนใจในสิ่งที่เราพูดได้ หลักการก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนครับ มันขึ้นอยู่กับว่าเราเข้าใจคนที่อยู่ตรงหน้าไหม ดังนั้นขอบอกก่อนว่าการเล่าเรื่องนั้นมีทั้งการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ คลิปวิดีโอ และการพูด ผมจึงคิด “ทฤษฎี SPEAK” ขึ้นมา ซึ่งแปลว่าพูด
S : Strategy 
หมายถึง กลยุทธ์
เราต้องถามตัวเองก่อนว่าเราจะพูดไปเพื่ออะไร ต้องชัดเจนในตัวเอง
P : Priority 
ลำดับความในการพูด
ถ้าอยู่ดี ๆ ผมเข้าเรื่องเลย แล้วคนที่อยู่ตรงหน้าไม่ทันได้ตั้งตัว อาจจะทำให้เขาไม่อยากฟังต่อ เพราะฉะนั้นเราจะต้องมีลำดับความในการพูด จึงจะสามารถตรึงผู้คนเอาไว้ได้ตลอด
E : Emotion 
หมายถึง อารมณ์
เราต้องมีอารมณ์ความรู้สึกในสิ่งที่เราอยากจะพูดอยากจะเล่า
A : Audience 
หมายถึง กลุ่มเป้าหมาย
เราต้องใส่ใจกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ตรงหน้า รู้ว่าเขาเป็นใคร จึงจะสื่อสารกับเขาได้
K : Key Message 
สิ่งที่เราต้องการจะสื่อไปยังกลุ่มเป้าหมาย
ทุกข้อความ ทุกคำพูด ต้องมีอินเนอร์ทัชใจกลุ่มเป้าหมาย
กลับไปสู่การเล่าเรื่องที่เคยบอกว่า จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย ขอให้ทำความเข้าใจบริบทเบื้องต้น โดยหัวใจในการเล่าเรื่องมี 3 ลำดับ ซึ่งคุณสามารถเอาไปใส่ใน Priority หรือลำดับความได้
1. ถามตัวเองว่า “อยากให้เขาทำอะไร”
ในกรณีที่เราจะพูด เขียน หรือทำสคริปต์วิดีโอสำหรับขายสินค้า ต้องนึกให้ออกว่าอยากให้เขาทำอะไร เช่น ผมอยากให้ทีมงานตัดต่อคลิปวิดีโอสวย ๆ อยากให้ออกแบบเว็บไซต์ระดับมืออาชีพ หรืออยากให้ทำ Sale page ที่ดึงดูดลูกค้าได้ (นี่คือความชัดเจนว่าเราอยากให้เขาทำอะไร)
2. เราต้องรู้ว่า “เขาคือใคร”
เราต้องรู้ทัศนคติ รู้สไตล์ รู้นิสัย รู้รสนิยม รู้อารมณ์ รู้วิถีชีวิต รู้ความชอบ รู้ความรังเกียจ เราต้องรู้จักคนที่เราต้องการจะสื่อสารด้วยครับ เช่น ครูมีทีมงานคนหนึ่ง เขาเป็นคนอารมณ์ศิลปิน ครูรู้ว่าถ้าทำให้เขารู้สึกสบายใจได้ เขาก็จะสามารถสร้างผลงานให้ครูได้ดีมากและช่วยองค์กรได้มหาศาล
3. ตอบให้ได้ว่า “ทําไมเขาต้องทำ”
สมมติว่าครูอยากให้ทีมงานทำเว็บไซต์ให้ติด SEO ก่อนอื่นครูต้องรู้ว่าทีมงานคนนั้นเป็นใคร เขาสนใจหรือไม่สนใจเรื่องอะไร แล้วจึงคิดหาวิธีพูดให้เขายินดีทำสิ่งนั้น

เช่น ทีมงานของครูคนนี้เขาเป็นศิลปิน มีอารมณ์สุนทรีย์ ไม่ใส่ใจเทคโนโลยี เป็นมนุษย์ที่คิดแตกต่าง เขาจะทําได้ดีที่สุดในสิ่งที่เขาหลงใหล ถ้าจู่ ๆ ไปพูดกับทีมงานคนนี้ว่า “ถ้าไม่ทำ โดนหักเงินเดือนแน่” ผลลัพธ์คือเขาหนีกลับบ้านทันทีครับ ไม่เอา ไม่ทำแน่นอน

“คนสั่ง ต้องรู้หัวใจคนฟังด้วย”
คลิกที่รูปภาพเพื่ออ่านรายละเอียด
เรียนหลักสูตรอสังหาฯ แบบบุฟเฟต์
เพราะฉะนั้น ลองเปลี่ยนจากประโยคเดิมที่ว่า “ถ้าไม่ทำ โดนหักเงินเดือนแน่” มาเป็น “อยากให้องค์กรเราเติบโตและแข็งแรงไหม เท่าที่ครูไปอ่านข้อมูลงานวิจัยมา เขาบอกกันว่า SEO บทความในเว็บไซต์มันโคตรสำคัญเลย ถ้าใส่ SEO บวกความขยันและฝีมือเชิงเทคนิคเข้าไปเนี่ย มันจะทำให้เราโตเป็น 10 เท่าเลยนะ” เมื่อพูดแบบนี้ทีมงานของผมก็จะอยากทำสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นกับองค์กร

แต่ถ้าพูดเรื่อง SEO เรื่องเดียวกันกับทีมงานอีกคนที่มีนิสัยแตกต่างกันล่ะ ?

ทีมงานอีกคนมีระเบียบมีวินัย เป็นคนเป๊ะ นัดหมายตรงเวลา ค้นคว้าเป็นค้นคว้า ไม่ทำเป็นไม่ทำ (นิสัยต่างกัน พูดแบบเดียวกันก็คงจะไม่ได้ครับ) เมื่อเจอทีมงานคนนี้ครูก็จะพูดว่า “จากที่ครูรู้มา SEO เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสูงสุด คอนเทนต์เราไม่ดีแต่ SEO ครบ ถ้าเราขยันทำ ไม่นานนักเราก็สามารถที่จะพากลุ่มเป้าหมายเข้ามาในพิกเซลในบนเว็บไซต์ของเราได้”
เพราะฉะนั้นนะครับ ทฤษฎีการเล่าเรื่อง คือ เราพูดทําไม เราเขียนทําไม อารมณ์ความรู้สึก เขาเป็นใคร เราอยากให้เขาทำอะไร เขาเป็นใคร ทําไมเขาต้องทำ ถ้าท่านตอบตัวเองได้ ท่านจะเขียนขายบ้านหนึ่งหลังก็ได้ เขียนขายรถยนต์หนึ่งคันก็ได้ เอาไปบอกให้ลูกอ่านหนังสือก็ได้ คุณจะเขียนขายหลักสูตรคุณก็ได้

สมมติว่าคุณจะขายบ้านหนึ่งหลัง คุณอยากให้กลุ่มเป้าหมายที่มาซื้อบ้านคือใครครับ ขณะที่คุณกําลังพูดหรือเขียนคอนเทนต์ คุณเขียนให้กลุ่มเป้าหมายแบบไหนอ่าน คนขับรถคาร์เยน คนมีเรือยอร์ช หรือมนุษย์เงินเดือน เงินเดือนหมื่นห้า ?

คนกลุ่มนี้ต้องมีคอนเนคชั่น ชอบปาร์ตี้ ถ้าเราจะขายบ้านให้พวกเขาก็บอกไปเลยครับว่า “เฮ้ยพี่! จัดปาร์ตี้ทุกครั้งมีแต่ความประทับใจ คนมาถ่ายรูปและเอาไปแชร์นะ แล้วพี่ก็จะได้ทั้งหน้าตา ได้ทั้งคอนเนคชั่น บ้านหลังนี้พี่ควรจะเป็นเจ้าของเนี่ย พี่จะจัดปาร์ตี้ยังไง เชิญใครมา มีที่จอดรถ มีที่รับรถ มีทางเข้า มีอุปกรณ์อํานวยความสะดวก มีออนเซ็น”

นี่คือสิ่งที่คุณบอกพวกเขา แต่ถ้ามาบอกครูม้อค (ครูม้อคไม่ได้มีเงินครับ) ถ้ามาบอกว่ามีออนเซ็น ครูไม่เอา ขอที่ปฏิบัติธรรมดีกว่า
“คุณต้องรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นใคร มีรสนิยมแบบไหน แล้วก็เสิร์ฟสิ่งนั้นให้เขา”
การเขียนคอนเทนต์ที่ดีนั้น ต้องคำนึงถึงบริบทหลัก SPEAK ได้แก่ Strategy Priority Emotion Audience และ Key Message เมื่อเราต้องการเล่าอะไรให้ใครฟัง สิ่งสำคัญคือต้องนึกถึง 3 คำนี้เสมอ นั่นคือ อยากให้เขาทำอะไร – เขาเป็นใคร – ทำไมเขาต้องทำ

ถ้าใครเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ผมคิดว่าคุณก็จะสวมวิญญาณนักเขียนคอนเทนต์ นักเล่าเรื่อง ที่มีคนติดตามโดยไม่ต้องอาศัยเอไอ ไม่ต้องอาศัยการยิงแอด ในโลกนี้ ทุกคนให้ความสำคัญกับแพลตฟอร์ม แต่ผมกลับมองว่าขึ้นอยู่กับอินเนอร์มากกว่า ผมให้น้ำหนักแพลตฟอร์มแค่ 20% แต่ถ้าคุณมีอินเนอร์ เข้าใจในการเล่าเรื่อง คุณก็สำเร็จไปแล้ว 80%

เพราะฉะนั้นทักษะของการเล่าเรื่องมีคุณค่าถึง 80% อีก 20% คุณค่อยเติมมันทีละนิดก็ได้ ผมอ่านเพจวิเคราะห์บอลจริงจัง เมื่อเช้านี้ เจ้าของเพจเล่าว่าเขาได้เริ่มต้นทำเพจในปีหนึ่ง ๆ เขาเขียนบทความถึง 364 บทความ และนำบทความเหล่านั้นมารวมเล่มขายในเพจจนทำเงินได้เป็นล้าน ๆ บาท

เขาบอกว่าเขาเองไม่คิดว่าจะมีคนอ่านบทความยาว ๆ ขนาดนี้ และก็ไม่คิดว่าการเขียนหนังสือจะทำให้เขามีรายได้หลักหลายล้านบาทต่อปี ดังนั้นการที่คุณมีความชัดเจนในการเล่าเรื่องของคุณ คุณก็สามารถกลายเป็นบุคคลยอดนิยมได้
“อนาคตอยู่ในมือคุณ”
มีปากกาสักด้ามไหมครับ
มีกระดาษสักแผ่นไหมครับ
เขียนอนาคตของคุณซะ
คลิกที่รูปภาพเพื่ออ่านรายละเอียด
เรียนหลักสูตรอสังหาฯ แบบบุฟเฟต์