วิธีวางแผนการตลาด ของคนฉลาดทำธุรกิจ

แผนการตลาดของคน (ไม่) ฉลาดเป็นยังไง ?
เป็นเรื่องปกติที่คนเราจะชอบอะไรที่ได้มาง่ายและรวดเร็ว ต่อให้รู้ทั้งรู้ว่าสิ่งนั้นจะไม่อยู่ถาวร ก็ยินดีที่จะรับมาก่อนเพื่อที่จะไม่ต้องเสียเวลาในขั้นตอนต่อไป

อย่างว่าความสบายนั้นเป็นเหมือนของหวาน ลองได้ลิ้มรสแล้วก็ยากที่จะอดใจไหว แต่รู้หรือไม่ว่าอะไรที่เข้ามาอย่างรวดเร็วก็มักจะหายไปอย่างรวดเร็วพร้อมกันเสมอ

ในสังคมจะมีคนอยู่สองประเภทคือ คนที่ชอบวางแผนทุกอย่างไว้ล่วงหน้าเสมอ ไม่ว่าอะไรก็จะต้องลงรายละเอียด กับ คนที่ไม่วางแผนอะไรเลย ใช้สัญชาตญาณเป็นตัวนำทาง

ไม่ว่าจะเลือกวิธีไหนสุดท้ายผลลัพธ์ก็ไม่ได้เป็นตัวบอกว่าแบบไหนดีกว่ากัน ต้องขึ้นอยู่กับตัวคนนั้นเองว่าจะเจอกับทางออกแบบไหน แล้วตัดสินใจเชื่อกับสิ่งใดมากกว่ากัน
แม้ว่าหลายคนจะเข้าใจว่าการวางแผนคือทุกอย่างของชีวิต ชีวิตใดที่ไร้ซึ่งการวางแผนก็ไม่ต่างอะไรจากการใช้ชีวิตโดยที่ไม่มีความหมาย อยู่ไปอย่างไร้ความมั่นคงแข็งแรง

กลับกันอีกมุมก็บอกว่าหากมัวแต่คิดมากเกินไปก็จะทำให้ไม่ได้ลงมือทำอะไรสักที ความกลัวจะเป็นสิ่งที่หยุดยั้งความคิดเหล่านั้นไว้ และเมื่อเป็นแบบนั้นทุกอย่างคงดูจืดสนิท

เมื่อทุกอย่างเป็นแบบนี้ทำให้หลายคนมักจะตีค่าว่าต้องฉลาดเท่านั้นถึงจะทำธุรกิจให้สำเร็จได้ ส่วนคนที่ไม่ฉลาดก็คงได้แค่เฝ้ามองความสำเร็จของคนอื่นไปก็เท่านั้น

ฟังดูอาจจะมีส่วนถูกบ้างก็จริง แต่ไม่ทั้งหมดเสมอไป เพราะถึงแม้ฉลาดเป็นกรดสักแค่ไหนถ้าควบคุมจัดการระบบความคิดของตัวเองได้ไม่ดีก็สูญเปล่า สู้ไม่ต้องฉลาดมากแต่ใช้ธุรกิจนี้เป็นตัวพัฒนาความสามารถต่าง ๆ อีกไม่นานก็คงเก่งขึ้นได้เอง
คลิกที่รูปภาพเพื่ออ่านรายละเอียด
เรียนหลักสูตรอสังหาฯ แบบบุฟเฟต์
การที่คนหนึ่งคนจะเริ่มต้นธุรกิจได้แน่นอนว่าพื้นฐานคือการวาง Business Plan ไล่ตั้งแต่หาทำเล จัดการต้นทุน บริหารสารพัด เริ่มจากศูนย์จนเริ่มมีรูปร่างขึ้นมาบ้าง

ทีนี้กลไกที่จะพาไปสู่บันไดความสำเร็จนั่นคือ Marketing Plan เพราะการตลาดคือหัวใจที่จะเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการนั้นได้อย่างมหาศาล ในทางกลับกันก็สามารถลดคุณค่าลงได้อย่างน่าใจหายเหมือนกัน เพราะแบบนี้ทุกคนจึงต้องรู้และเข้าใจในการตลาดมากยิ่งขึ้น

ทันทีที่เอาแผนทั้งหมดมากาง ทุกอย่างจะดูวุ่นวายไปหมด ไม่รู้จะจับต้นชนปลายอะไรก่อนหลัง แล้วเรื่องอะไรคือสิ่งที่ควรทำลำดับแรกในเมื่อกระบวนการตรงหน้ามากมายไปหมด
ธุรกิจคืออะไร จะขายสินค้าใด
และกลุ่มเป้าหมายเป็นใคร ?
สิ่งแรกคือการมองภาพรวมให้เข้าใจ ธุรกิจของเราคืออะไร และจะขายสินค้าใด รวมไปถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นใคร ทุกอย่างต้องถูกจัดหมวดหมู่ให้เข้าใจง่ายก่อนที่จะไปขั้นต่อไป
มากันที่เมื่อตั้งกลุ่มเป้าหมายไว้ในใจ ลำดับต่อไปคือการลงลึกรายละเอียดมากกว่านั้น แค่ช่วงอายุหรือเพศอาจไม่พอ ต้องรู้ไปยังกลุ่มอาชีพไหนที่เหมาะกับธุรกิจเรามากที่สุด สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร และในตลาดมีสิ่งนี้อยู่หรือเปล่า

เพราะอย่างที่บอกไปว่าถ้าทำธุรกิจและไปเหมือนกับคนอื่นที่เขาทำไว้ดีอยู่แล้วแทบทุกอย่าง ความฝันว่าจะประสบความสำเร็จก็แทบนึกภาพไม่ออกเลยว่าจะมีหน้าตาแบบไหน

ที่ขาดไม่ได้คือปัญหาที่ลูกค้าเจอ ตรงนี้ผู้ประกอบการหลายคนมองข้าม มัวแต่มองว่าเหมาะกับใครมากกว่าแก้ปัญหาให้คนเหล่านั้นอย่างไรมากกว่ากัน

อย่างถ้าทำคาเฟ่ไม่ใช่แค่เพื่อให้จิบกาแฟหรือของว่างเบา ๆ ต้องรู้ว่าลูกค้าต้องการที่นั่งแบบไหน แสงไฟในร้านเท่าไร เพื่อให้ได้ความต้องการที่ตรงมากที่สุด และสร้างความประทับใจ
คลิกที่รูปภาพเพื่ออ่านรายละเอียด
หลักสูตร AI พัฒนาธุรกิจระดับ 10X
อย่าลืมศึกษาคู่แข่ง และหา Connection 
พอรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายต้องการสิ่งใด ก็อย่าลืมที่จะศึกษาคู่แข่งด้วยก็ดี อันที่จริงนี่คือขั้นตอนที่ลืมไม่ได้อยู่แล้ว ยิ่งทางเลือกเกิดขึ้นมากเท่าไร ลูกค้าก็สามารถกระจายอยู่ได้มากเท่านั้น

มีงานวิจัยพบว่าต่อให้จะมีสิ่งใหม่เกิดขึ้นมากแค่ไหน ทุกอย่างก็จะต่างกันตั้งแต่จุดเล็กน้อยไปหาจุดใหญ่โตเสมอ ทำให้นำไปสู่การหาทางออกที่ดีในด้านธุรกิจ

สิ่งนั้นคือการหา Connection ถึงแม้ทางการค้าอาจจะแข่งขันกัน แย่งลูกค้ากันอย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่ถ้าเข้าใจกันและกันในระบบคู่ค้า และสร้างจุดเด่นจากความต่างบางอย่างก็จะทำให้ไม่ช้ากลุ่มเป้าหมายก็จะจำแนกเองอยู่ดี
ไม่ว่าจะสไตล์ตกแต่ง การบริการ หรือแม้กระทั่งรูปแบบของบรรยากาศ สามารถทำให้ต่างกันได้ ดึงจุดเด่นที่เป็นปัจเจกเฉพาะออกมาก็จะทำให้ได้เป็นอีกเสน่ห์ที่แปลกใหม่

มิหนำซ้ำนอกจากจะไม่เป็นคู่แข่งกันแล้ว ยังสามารถแนะนำลูกค้าต่อได้ถึงความชอบในอีกรูปแบบ เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้รับรสชาติความรู้สึกที่ต่างกันออกไปอีก

เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่รู้กันอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือการจัดลำดับขั้นตอนอย่างถูกวิธีมากกว่าที่จะทำให้ผลลัพธ์ขยับเข้าใกล้มาหาเจ้าของกิจการได้เร็วยิ่งขึ้น
จุดอ่อนและจุดแข็ง คืออะไร ?
นอกจากนี้ยังต้องวิเคราะห์ทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งของตัวเองให้ได้ รวมถึงผลิตกลยุทธ์ทางการตลาด โดยที่จะต้องอยู่ในงบประมาณการเงิน ไม่ส่งผลกระทบถึงต้นทุนที่มีอยู่ 

จะเห็นว่าทุกอย่างคือเรื่องที่เชื่อว่าเกือบทุกคนก็คงทำเช่นนี้ แต่สาเหตุที่ผลลัพธ์ต่างกันเพราะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและแก้ปัญหา เมื่อทำอะไรลงไปแล้วบางครั้งก็ไม่สามารถย้อนกลับมาได้ ทำได้เพียงต้องยอมรับกับสิ่งที่เป็นอยู่
เพราะแบบนี้ถึงบอกกันว่าการเริ่มต้นนั้นสำคัญ ลองซื่อสัตย์กับตัวเองดู ถ้าคิดว่ายังรู้อะไรไม่มากพอ ไม่ใช่ก้มหน้ายอมรับอย่างเดียว ต้องเริ่มต้นไปศึกษาให้มากขึ้น ถามจากคนที่มีประสบการณ์ก่อนจึงค่อยนำมาปรับใช้กับตัวเอง

จากคนไม่รู้ก็กลายเป็นคนที่รู้ได้ นับประสาอะไรกับบางคนที่มีความรู้มาบ้างแล้วด้วยซ้ำ แต่แค่ยังไม่รู้ว่าความรู้ที่มีจะมาใช้งานจริงได้อย่างไร ก็จะคิดล้มเลิกอยู่บ่อย ๆ

สิ่งสำคัญไม่ใช่ว่าต้องรู้ไปหมดทุกเรื่อง บางทีรู้เท่าที่จะใช้ประโยชน์ได้ก็พอ หลังจากนั้นค่อยสั่งสมเพิ่มเรื่อยมา แล้วแบบนี้ทุกเรื่องที่เข้ามาจะน่าจดจำขึ้นกว่าที่เคย…
คลิกที่รูปภาพเพื่ออ่านรายละเอียด
เรียนหลักสูตรอสังหาฯ แบบบุฟเฟต์